โฮสติ้ง คืออะไร?

Hosting คืออะไร?

Web Hosting ( เว็บโฮสติ้ง ) เป็นบริการให้เช่าพื้นที่ในการนำเว็บไซต์มาฝาก เพื่อให้เว็บไซต์คุณสามารถออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตได้ โดยเป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ คือ ผู้ใช้บริการไม่ต้องยุ่งยากกับระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพราะทางผู้ให้บริการ Web Hosting จะเตรียมการทุกอย่างไว้ให้เรียบร้อย แต่คุณต้องทำการ จดโดเมน ก่อนแล้วจึงมาเช่า Web Hosting เพื่อเก็บเว็บไซต์

การเลือก Web Hosting ให้กับเว็บไซต์คุณ

1.Web Hosting ตั้งอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ
ให้คุณดูก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาที่เว็บของคุณคือใคร หากเป็นลูกค้าในประเทศ ก็ควรเลือก Web Hosting ที่ตั้งอยู่ในประเทศ เพราะเวลาลูกค้าคุณเข้ามาดูข้อมูลในเว็บไซต์คุณ ก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า ไม่ต้องวิ่งไปหาข้อมูลที่ต่างประเทศ แต่หากลูกค้าคุณเป็นลูกค้าต่างประเทศ ก็ควรเลือก Web Hosting ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ เพื่อการเข้าถึงของลูกค้าคุณจะได้รวดเร็วกว่าที่จะต้องเข้ามาดูข้อมูลที่เก็บไว้ที่ Web Hosting ในเมืองไทย

2.ขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ต้องพอเพียงกับข้อมูลของ Web Site ที่จัดทำ
ปกติพื้นที่ขนาด 5 MB ก็เพียงพอต่อการนำเว็บไซต์ทางธุรกิจทั่วไป ที่มี่ภาพและข้อมูล ยกเว้นแต่หากท่านจะมีข้อมูลเป็นจำนวนมากๆ เช่น ข้อมูลรูปภาพหรือไฟล์เอกสารต่างๆ ที่จะเปิดให้ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดได้หลายรายการ และแต่ละไฟล์มีขนาดใหญ่ ท่านอาจจะต้องพื้นที่เพิ่ม และบางแห่งจะนำ พื้นที่ ๆ เก็บ E-Mail มานำไปคิดรวมกับพื้นที่ ๆ เก็บไฟล์ข้อมูลของเว็บไซต์คุณ ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่ของเว็บไซต์ท่านไม่เพียงพอต่อการใช้งานได้ เพราะจะต้องใช้ร่วมกับ E-Mail ซึ่งต้องเช็คกับทางผู้ให้บริการ ก่อนตัดสินใจใช้ E-Mail Box แยกออกจากพื้นที่เก็บไฟล์ข้อมูลเว็บหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่หากรวมกัน ท่านอาจจะต้องการพื้นที่ Web Hosting อย่างน้อย 15 MB เป็นอย่างต่ำ

3.จะมีการใช้เว็บโปรแกรมมิ่งไหมในเว็บของคุณ?
ถ้าหากเว็บไซต์คุณมีการใช้เว็บโปรแกรมมิ่งในการทำเช่น เว็บบอร์ด, โปรแกรมส่งเมล์หาสมาชิก (Mailing List), หรือ โปรแกรมการเก็บฐานข้อมูล (Database) คุณควรจะเช็คกับทางผู้ให้บริการ Web Hosting ว่า Server ของเค้าเป็น OS อะไร ถ้าหากเป็น Windows ก็สามารถใช้กับ ภาษาในการเขียนโปรแกรมได้แก่ ASP, PHP, Perl ได้ แต่หากเป็น Linux ก็จะสามารถใช้ได้แค่ PHP, Perl เท่านั้น หรือบางท่านอาจจะต้องการใช้ระบบรักษาความปลอดภัย ก็อาจจะต้องใช้บริการ ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแบบ SSL (Secure Socket Layer) ซึ่งจะเหมาะกับเว็บไซต์ทีทำ E-Commerce
4.ทดสอบคุณภาพการบริการทางอีเมล์
คุณอาจจะลองเมล์ไปสอบถามคำถามต่าง ๆ กับทาง Support แล้วลองดูระยะเวลาการตอบกลับอีเมล์ปัญหาของคุณ ว่าใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ถ้าการตอบแต่ละครั้งใช้เวลานาน (ไม่ควรเกิน 1 วัน) แบบนี้ก็ไม่น่าที่จะเลือกใช้บริการ ลองส่งเมล์ไปสอบถามซัก 4-5 ครั้ง หรือมากกว่านี้ก็ได้ เพื่อดูความรวดเร็วในการแก้ปัญหาให้ลูกค้า และ ความใส่ใจในการบริการ ของผู้ให้บริการ

5.ราคาไม่ใช่ตัวบอกถึงคุณภาพการบริการเสมอไป
Web Hosting ที่มีราคาแพง ไม่จำเป็นว่าจะมีประสิทธิภาพ และบริการที่ดีเสมอไป ในการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจ Web Hosting คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายแพงเพื่อซื้อบริการที่ดีกว่า คำว่า "ของดีราคาถูก" ยังมีอยู่ให้เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

6.ช่องทางการติดต่อกับผู้ให้บริการ
ควรจะมีหลาย ๆ ช่องทางในการที่จะติดต่อกับผู้ให้บริการได้ เผื่อในกรณีที่เกิดปัญหาจะได้ติดต่อได้อย่างรวดเร็ว ทั้งเบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน, โทรศัพท์มือถือ และทางอีเมล์ ผู้ให้บริการ Web Hosting บางรายแม้ว่าจะมีการให้บริการที่ดี แต่ถ้าคุณสามารถติดต่อได้แค่ทางอีเมล์แล้ว นั่นก็หมายถึงว่าคุณจะต้องรอรับการ บริการจากทางอีเมล์เท่านั้น

ระหว่าง Windows Hosting และ Linux Hosting จะเลือกใช้อย่างไร

Windows Hosting และ Linux Hosting คือ Operating System Platform เป็นรูปแบบของระบบปฏิบัติการที่ตัว Web Hosting ใช้งาน จะมีอยู่ 2 ระบบปฏิบัติการใหญ่ๆ ที่ใช้งานคือ Windows หรือ Linux ซึ่งถ้า Web Hosting ที่ใช้ Windows เป็นระบบปฏิบัติการนั่นก็หมายความว่า ภาษาที่ใช้งานก็จะเป็น ASP หรือ ASP.Net และ PHP ส่วน Web Hosting ที่ใช้ Linux เป็นระบบปฏิบัติการภาษาที่ใช้งานก็จะเป็น PHP ถ้าเว็บไซต์ของท่านเขียนด้วย html อย่างเดียว สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง 2 ระบบ แต่ขอแนะนำให้ใช้เป็น Linux เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
Web Hosting ที่ดีจะต้องให้บริการทั้งเครื่องมืออำนวยความสะดวกและคำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้สามารถดูแลและแก้ไข website ของตนเองได้ ผู้ให้บริการ Web Hosting จะคิดค่าบริการจากการเช่าพื้นที่ในการให้บริการซึ่ง พื้นที่ดังกล่าวใช้สำหรับเก็บข้อมูล website ที่ต้องการนำเสนอ รวมทั้ง E-Mail Database รายละเอียดเกี่ยวกับสถิติผู้เข้าชม ฯลฯ

Post By GICT